๘๖
ข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ[สกปรก] มาตรา 14 (3) [สับสน]
ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 397 [ชอบกล]
ข้อหาเรื่องการใช้เสียงแตรรถยาวหรือซ้ำเกินควร[เกินคน] ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 14 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 368 อาญา
สามัญชน
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗
🙏🐸😍🎀💖🧡💔💕💋🐝🐔🍀😘😢🌞🌐🌀🐞🐠⁉️🐹🐧🐬🐓🍄
https://shorturl.asia/89yW7
#ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม #SaveTawanTanTawanandFriend , Sinsawat Yodbangtoey, Tawan Tantawan, Tantawan Tuatulanon, ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, เป็นพลังใจให้เธอ, พลังใจจงเป็นของเธอ
๘๕
1.ให้ตรวจสอบการเสียชีวิตของบุ้งให้เกิดความโปร่งใสและชัดเจนโดยเร็ว[รี่]
2.ให้ผู้ต้องขังซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดได้รับสิทธิในการประกันตัว[ด้วย]
3.ชะลอการดำเนินคดี การจับกุมคุมขังบุคคลในคดีการเมือง[คุดคูอวย]
4.เร่งรัดการ[ช่วย]ออกกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน
สามัญชน
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗
ตำรวจเตรียมยื่นศาล ขอเพิกถอนประกันตัว 'ตะวัน ทะลุวัง' หลังขวางขบวนเสด็จฯ ชี้เป็นการขัดคำสั่งศาล | เรื่องเล่าเช้านี้ - 7 ก.พ. 2024
'ตะวัน' โพสต์แจง 4 ข้อขอโทษที่ขับเร็ว รีบไปธุระ อ้างไม่รู้มีขบวนเสด็จฯ ไม่ได้ตั้งใจป่วน | เรื่องเล่าเช้านี้ - 12 ก.พ. 2024
แยกเป็น 4 กระทง ใน 5 ข้อกล่าวหา ได้แก่
ข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116,
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3),
ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 397,
ข้อหาเรื่องการใช้เสียงแตรรถยาวหรือซ้ำเกินควร ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 14,
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 368
จากกรณีไม่พิมพ์ลายมือในระหว่างรับทราบข้อกล่าวหา เฉพาะณัฐนนท์ยังถูกกล่าวหาในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 136 อีกหนึ่งข้อหาด้วย
บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567
ขณะที่มีการอารักขาขบวนเสด็จของกรมสมเด็จพระเทพฯ อยู่บนทางพิเศษศรีรัช มุ่งหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ที่ทางลงทางด่วนพหลโยธิน 1 ตะวันและแฟรงค์ได้ร่วมกันบีบแตรรถยนต์ตลอดเวลาเสียงดังยาว 1 - 2 นาที และขับรถยนต์แทรกคันอื่น ๆ ที่หยุดรอขบวนเสด็จ เพื่อขับแทรกเข้าไปในเส้นทางของขบวนเสด็จที่กำลังเคลื่อนผ่านบริเวณทางต่างระดับมักกะสันที่รถยนต์ของผู้ต้องหาทั้งสองคนอยู่
ต่อมาเมื่อขบวนเสด็จผ่านไปแล้ว จำเลยทั้งสองคนได้ขับรถไล่ติดตามขบวนเสด็จไปในระยะกระชั้นชิดและบีบแตรลากยาวโดยไม่มีเหตุอันควร ตลอดจนถึงบริเวณทางลงของทางด่วนพหลโยธิน 1 เป็นระยะประมาณ 800 เมตร ซึ่งเจ้าหน้าที่อารักขาได้สกัดกั้นจำเลยทั้งสองคนไว้ได้
นอกจากนี้ ในขณะเกิดเหตุ อัยการได้บรรยายฟ้องอีกว่า ส.ต.อ.นพรัตน์ อินทิแสน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อารักขาขบวนเสด็จ ได้เข้าสกัดกั้นรถยนต์ของจำเลยทั้งสองให้หยุดการกระทำ โดยกล่าวหาว่าแฟรงค์ได้ดูถูกเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวด้วยถ้อยคำหยาบคาย และทำให้เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวรู้สึกอับอาย และถูกลดคุณค่าในขณะที่กำลังปฏิบัติตามหน้าที่ อันเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่
ในวันที่ 7 ก.พ. 2567 ตะวันได้ทำการโพสต์ภาพจากกล้องหน้ารถที่ทั้งสองขับในวันเกิดเหตุ ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยกล่าวแสดงความเห็นว่า ‘นำคลิปหลักฐานมาให้ชมค่ะ ว่ามีการปิดถนนจริง ๆ เราเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องขบวนเสด็จไปแล้ว แต่กลับไม่มีผู้ใหญ่คนไหนตอบ ซ้ำยังยัดคดี ม.112 และถอนประกันจนเข้าคุก นี่คือคำตอบที่ผู้ใหญ่ในประเทศนี้ให้กับเรา’
วันนั้น เราได้ขับรถไปทำธุระส่วนตัว เจอขบวนเสด็จพอดีและปิดถนนเหมือนเดิม เราไม่ได้รอและขับออกไปเลย เพราะทุกคนก็รีบเหมือนกัน เราขับรถไปตามเส้นทางที่จะต้องไปทำธุระ ไม่ได้จะเร่งไปเพื่อหาขบวนเสด็จ และมันก็มีแต่คำถามในหัวว่า ทำไมถึงมีรถคันไหนไปได้สะดวกกว่ารถของประชาชน?’
‘ครั้งนี้ ผู้ใหญ่ทั้งหลายในเมืองพุทธนี้ จะให้คำตอบเด็กอย่างเราแบบไหนคะ’
⭕️อัยการระบุพฤติการณ์ของ “ตะวัน - แฟรงค์” เป็นการท้าทายดูหมิ่นพระเกียรติฯ และอาจสร้างความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน
เหตุทั้งหมด อัยการได้มีความเห็นสั่งฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองคนที่ต่อเนื่องกัน เป็นการสร้างความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องถึงขนาดที่ก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย อันมิใช่การกระทำมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ และมิใช่การติชมโดยสุจริต
.
และเนื้อหาการโพสต์ของจำเลยที่ 1 หรือตะวัน เป็นการอวดอ้างพฤติกรรมของจำเลยทั้งสองที่ขับรถแทรกรถยนต์ของประชาชนที่อยู่บริเวณนั้น เพื่อจะพยายามขับแซงไปข้างหน้าให้ใกล้กับขบวนเสด็จของกรมสมเด็จพระเทพฯ ทั้งยังมีการบีบแตรส่งเสียงดังแสดงความก้าวร้าว เป็นการต่อต้าน ท้าทายดูหมิ่นพระเกียรติยศ
ทั้งทำให้ประชาชนที่ติดตามเฟซบุ๊กของตะวัน เข้าใจว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มโซเชียลมีเดีย อันเป็นการกระทำที่อาจสร้างความปั่นป่วนในหมู่ประชาชน และเป็นภัยอันตรายต่อความปลอดภัยทางสาธารณะ
🔻ทั้งนี้ ท้ายฟ้อง อัยการระบุว่า “หากจำเลยขอปล่อยตัวชั่วคราว ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของศาล” โดยไม่ได้คัดค้านการประกันตัวด้วย
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่าแม้บรรยายฟ้องของโจทก์จะกล่าวถึงพฤติกรรมของตะวันกับแฟรงค์ว่า อาจนำไปสู่ความปั่นป่วนในหมู่ประชาชน ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 นั้น ก็ยังไม่พบว่าจะมีการนำเสนอข่าว หรือผู้ใดที่กระทำการสร้างความวุ่นวายตามฟ้อง
นอกจากนี้ ตามบันทึกจับกุม ยังได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ตะวันที่นั่งอยู่ข้างคนขับ ได้เปิดกระจกรถต่อว่าตำรวจที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวว่า เดือดร้อนภาษีประชาชน และเมื่อขบวนเสด็จผ่านไปแล้ว ก็ได้เปิดการจราจรให้รถยนต์จากทางร่วมฯ วิ่งไปได้ตามปกติ โดยเห็นว่ารถของผู้ต้องหาทั้งสองคนมีพฤติการณ์ขับรถเร็ว ซึ่งตำรวจลงความเห็นว่าอาจเป็นการอันตรายต่อขบวนเสด็จ จึงได้แจ้งทางวิทยุให้เจ้าหน้าที่รายอื่นที่ปฏิบัติงานถวายความปลอดภัยทราบถึงพฤติกรรมของรถยนต์คันดังกล่าว
.
จากนั้นรถของตะวันก็ได้ขับเข้าประชิดกับรถปิดท้ายขบวนเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่รถปิดท้ายขบวนได้สกัดเอาไว้ได้ จึงทำให้ไม่สามารถแทรกเข้าไปในขบวนเสด็จได้
.
ต่อมาในวันที่ 2 เม.ย. 2567 ศาลอาญานัดได้นัดให้มีการถามคำให้การทั้งสองคน โดยเบิกตัวแฟรงค์มาที่ศาลอาญา แต่ไม่สามารถติดต่อตะวันได้ โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ให้เหตุผลว่า เนื่องจากในขณะนี้ตะวันพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และตอนนี้ก็ไม่สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลดังกล่าวได้ จึงไม่สามารถดำเนินการเบิกตัวมาตามนัดสอบคำให้การในวันนี้ได้ ศาลจึงให้เลื่อนนัดถามคำให้การไปเป็นวันที่ 2 พ.ค. 2567
ศูนย์ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 2 เมษายน 2024 · เปิดคำฟ้อง ม.116 ของ “ตะวัน - แฟรงค์” กล่าวหา #บีบแตรใส่ขบวนเสด็จ ท้าทาย-ดูหมิ่นพระเกียรติของพระเทพฯ
วันที่ 4 ก.พ. 2567 เหตุการณ์บีบแตรใส่ขบวนเสด็จพระราชดำเนินของกรมสมเด็จพระเทพฯ
วันที่ 13 ก.พ. 2567
“ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ “แฟรงค์” ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร ถูกจับกุมตามหมายจับในคดีมาตรา 116 – พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ สืบเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่า บีบแตรใส่ขบวนเสด็จของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567
วันที่ 14 ก.พ. ถูกฝากขัง
น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และนายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์ นักกิจกรรมกลุ่ม "ทะลุวัง" ได้ตัดสินใจอดอาหารประท้วงในระหว่างการถูกฝากขัง
วันที่ 14 ก.พ. 2567
เวลา 10.00 น. รถควบคุมตัวผู้ต้องขังจาก สน.ดินแดง และ สน.ฉลองกรุง ได้ทยอยมาถึงศาลอาญา
15.00 น. ทนายความเข้ายื่นคำร้องขอประกันตะวันและแฟรงค์ในทันที
พนักงานสอบสวนมีเหตุจำเป็นจะต้องสอบปากคำประจักษ์พยานเพิ่มเติมอีก 5 ราย โดยเห็นว่าผู้ต้องหาทั้งสองราย อาจเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานที่ยังไม่แล้วเสร็จ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังครั้งที่ 1 เป็นจำนวน 12 วัน (14 – 25 ก.พ. 2567)
ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันระหว่างการสอบสวน ระบุคำสั่งว่า พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่า ข้อหาที่ผู้ต้องหาทั้งสองถูกกล่าวหามีอัตราโทษสูง พฤติการณ์ในการกระทำผิดของผู้ต้องหาทั้งสองมีลักษณะไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความปั่นป่วนต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวมีเหตุน่าเชื่อว่าจะไปก่อเหตุอันตรายลักษณะเดียวกันนี้ หรือประการอื่นอีก ทั้งอาจเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ยกคำร้อง
วันที่ 22 ก.พ. 2567
ทนายความได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวทั้งคู่ต่อศาลอาญา
ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องขอประกันตัวของทั้งคู่ทันที โดยระบุในคำสั่งว่า ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ลงนามคำสั่งโดย นางเมตตา ท้าวสกุล
วันพรุ่งนี้ (24 ก.พ.) พ่อของตะวันเตรียมจะยื่นขอประกันตัวอีกครั้ง
วันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา
ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก มีคำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว นักกิจกรรมทั้งสองคน ซึ่งถูกคุมขังในคดีอาญามาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
จากกรณีที่ถูกกล่าวหาในเหตุการณ์บีบแตรใส่ขบวนเสด็จพระราชดำเนินของกรมสมเด็จพระเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2567
วันที่ 26 ก.พ. น.ส.ทานตะวันถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 2567 จนถึงปัจจุบัน [20 มี.ค. 2567] ตะวันและแฟรงค์ถูกคุมขังระหว่างสอบสวนมาแล้ว 36 วัน โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ทั้งสองอดน้ำและอาหารเรียกร้องสิทธิประกันตัวและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมมาตั้งแต่วันแรกที่ถูกคุมขัง รวมเวลา 36 วัน
วันที่ 20 มี.ค. 2567 การไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 4
หากศาลจะไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองตามคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 4 ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนคดีนี้ และหากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้งสองระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนก็ไม่คัดค้าน
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้อยู่ในชั้นฝากขังใกล้ครบระยะเวลาฝากขังแล้ว และศาลนี้เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง” ลงชื่อ ธีรวิชช์ ควรเสรี ผู้พิพากษา
ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองเป็นครั้งที่ 4 (อีก 12 วัน)
องค์คณะผู้พิพากษาที่ออกนั่งพิจารณาคดี ได้แก่ ณรงค์ศักดิ์ จันทรสูตร (หัวหน้าองค์คณะ), พิมพ์ปราง บุณยสมิต, ทศพร ปันทะ, นภัสรัญชน์ ไชยวรุตย์ และ ศริยา สาลี
ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำสั่ง ได้แก่ ณรงค์ศักดิ์ จันทรสูตร, ประสิทธิ์ หลัดกอง
28 มี.ค. 2567 พ่อและทนายความได้ยื่นประกันตัว “ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ “แฟรงค์” ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร ต่อศาลอาญาอีกเป็นครั้งที่ 7
Prachatai Following▾ flickr - February 10, 2024 ขบวนเสด็จ 3 ภาพที่บันทึกจากไลฟ์ของทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน นักกิจกรรมเยาวชน และหนึ่งในผู้ต้องหาคดี ม.112 จากกรณีทำโพลขบวนเสด็จ เผยแพร่คลิปถ่ายทอดสดเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา เวลา 18.26 น.
Prachatai Following▾| flickr - February 10, 2024 จากคลิปสวนกันคนละมุมมอง 'ขบวนเสด็จ' สู่ขบวนข่มขู่ ขบวนถอนประกัน ขบวนสอบจริยธรรมนายประกัน
Tawan Tantawan 4 กุมภาพันธ์ 2-24 · 👓
"ทะลุฟ้า" มาตามนัดติดตามคดี "บุ้ง เนติพร" เสียชีวิต หวังรัฐบาลชี้แจงให้กระจ่าง คืนยุติธรรมให้คนตาย
samunchon blogspot : Political Poetry, Thai "...รู้สึก...แลลึกซึ้ง ซึ่งสำเนียง เสียงภายใน...ซึมซับ สู่ตับไต ไหลรินสู่ รูทวาร"
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
เปิดคำฟ้อง ม.116 ของ “ตะวัน – แฟรงค์” กล่าวหา #บีบแตรใส่ขบวนเสด็จ ท้าทาย – ดูหมิ่นพระเกียรติของพระเทพฯ
กวีการเมือง,
ทานตะวัน ตัวตุลานนท์,
ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม,
SaveTawanTanTawanandFriend,
Tantawan Tuatulanon,
Tawan Tantawan
ปลดเกษียณ เปลี่ยนวิถี... ..12 ปี ประถม - มัธยมท้าย ..4 ปี หมาย มหา'ลัย แห่งชนผอง ..7 ปี ออก นอกรั้ว น้ำเงิน - ทอง ..อุดมการณ์ ยังก้อง กังวาลไกล .. ..ปี '32 ก้าว สู่ "ปราสาทสังข์" ..คือความหวัง ตั้งต้น ชนรุ่นใหม่ ..หวังสร้างตัว สร้างตน ชนศิวิไลซ์ ..เพื่อนสนิท มิตรสหาย...สู่นายคน .. ..ปี'52 ลองทบทวน อย่างถ้วนถี่ ..20 ปี ให้ หลัง ยัง เข้ม ข้น ..ปลดเกษียณ เปลี่ยนวิถี ชีวิตชน ..สู่ ตัว ตน ชั้น ชน คน สา มัญ ..samunchon khonsamun สามัญชน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
.
ตอบลบเปิดคำฟ้อง ม.116 ของ “ตะวัน – แฟรงค์” กล่าวหา
#บีบแตรใส่ขบวนเสด็จ ท้าทาย - ดูหมิ่นพระเกียรติของพระเทพฯ
๘๖
ข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ[สกปรก] มาตรา 14 (3) [สับสน]
ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 397 [ชอบกล]
.
ข้อหาเรื่องการใช้เสียงแตรรถยาวหรือซ้ำเกินควร[เกินคน] ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 14 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 368 อาญา
.
สามัญชน
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗
🙏🐸😍🎀💖🧡💔💕💋🐝🐔🍀😘😢🌞🌐🌀🐞🐠⁉️🐹🐧🐬🐓🍄
https://shorturl.asia/89yW7
.
#ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม #SaveTawanTanTawanandFriend , Sinsawat Yodbangtoey, Tawan Tantawan, Tantawan Tuatulanon, ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, เป็นพลังใจให้เธอ, พลังใจจงเป็นของเธอ
.
ข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
ตอบลบพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ[สกปรก] มาตรา 14 (3) [สับสน]
ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 397 [ชอบกล]
https://shorturl.asia/89yW7
ข้อหาเรื่องการใช้เสียงแตรรถยาวหรือซ้ำเกินควร[เกินคน]ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 14 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งฯ
#ปฏิรูปกระบวนการยุติธรม