วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แผ่นพับ "สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี ๒๕๐๕"

ภาพที่ 1
เมื่อปี ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และให้ไทยถอนทหารหรือตำารวจออกจากปราสาทพระวิหารหรือ ในบริเวณใกล้เคียงในดินแดนของกัมพูชา ตลอดจนคืนวัตถุโบราณ ที่ไทยอาจโยกย้ายออกจากปราสาทฯ

เกือบครึ่งศตวรรษต่อมา กัมพูชาได้ยื่นคำขอต่อศาลฯ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๔ ขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาท พระวิหาร ที่ศาลฯ ได้ตัดสินไว้เมื่อปี ๒๕๐๕ และในขณะเดียวกัน ได้ขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการชั่วคราว (Provisional Measures) โดยขอให้ศาลฯ สั่งให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณปราสาท พระวิหารระหว่างที่รอศาลฯ ตัดสินคดีตีความ

ความคืบหน้าของคดีฯ สรุปได้ดังนี้

๑. คำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลฯ

เมื่อวันที่ ๓๐ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอด้วย วาจาเกี่ยวกับคำขอมาตรการชั่วคราวต่อศาลฯ และต่อมา เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ศาลฯ ได้มีคำาสั่งมาตรการชั่วคราว ดังนี้

๑. ให้ทั้งสองฝ่าย ถอนบุคลากรทางทหาร ซึ่งอยู่ในเขตปลอดทหาร ชั่วคราว (Provisional Demilitarized Zone - PDZ) ที่ศาลฯ กำหนดโดยทันที
๒. ไม่ให้ไทยขัดขวางการเข้าออกปราสาทพระวิหารโดยอิสระของ กัมพูชา
๓. ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการตามความร่วมมือที่ได้ตกลงกัน ในกรอบอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์ที่ตั้งขึ้น โดยอาเซียนเข้าไปยังเขตปลอดทหารชั่วคราวฯ
๔. ให้ทั้งสองฝ่ายงดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้ข้อพิพาทในศาลฯ ทวีความร้ายแรงหรือแก้ไขยากขึ้น

พร้อมกันนี้ศาลฯได้กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายรายงานศาลฯ เกี่ยวกับ การปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวข้างต้นด้วย

แผ่นพับ, เขาพระวิหาร,
๒. เหตใดไทยต้องปฏิบัตตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลฯ

คำสั่งฯ ของศาลฯ ผูกพันประเทศไทยและกัมพูชา ตามข้อ ๙๔ ของ กฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งกำหนดว่า สมาชิกสหประชาชาติต้องปฏิบัติ ตามคำตัดสินของศาลฯ

อย่างไรก็ดี คำสั่งฯ ของศาลฯ มีผลเพียงชั่วคราวและจะสิ้นผล เมื่อศาลฯ มีคำตัดสินคดีตีความ และในฐานะสมาชิกสหประชาชาติและ ประเทศที่เคารพในกฎกติการะหว่างประเทศ รัฐบาลไทยจึงมีพันธะต้อง ปฏิบัติตามคำาสั่งดังกล่าว

นอกจากนี้ กฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ ๙๔ วรรค ๒ ระบุด้วยว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งฯ ของศาลฯ คู่กรณีอาจเสนอเรื่อง ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council - UNSC) พิจารณาออกมาตรการเพื่อให้มีการปฏิบัติตามได้

๓. การปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลฯ ในช่วงที่ผ่านมา

วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปฏิบัติตาม คำสั่งฯ ของศาลฯ พร้อมทั้งเห็นชอบให้ใช้กลไกการประชุมคณะกรรมการ ชายแดนทั่วไป (General Border Committee – GBC) ซึ่งมีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานในการเจรจากับกัมพชาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลฯ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี ได้เสนอเรื่องต่อรัฐสภาตามมาตรา ๑๗๙ ของรัฐธรรมนญฯ เมื่อ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่ประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ครั้งที่ ๘ ได้ตกลงกันให้จัดตั้งคณะทำงานร่วม (Joint Working Group - JWG) เพื่อหารือในประเด็นการปฏิบัติตามคำสั่งฯ ของศาลฯ โดยมีเสนาธิการทหารเป็นประธานฝ่ายไทย วันที่๓ - ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ไทยได้เป็น เจ้าภาพจัดการประชุม JWG ครั้งที่ ๑ ณ กรุงเทพฯ ต่อมา เมื่อ วันที่ ๒๖ - ๒๘ มถนายน ๒๕๕๕ กัมพชาได้เป็นเจ้าภาพการประชุมฯ ครั้งที่ ๒ ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งโดยสรุป ทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะปฏิบัติ ตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลฯ อย่างเท่าเทียม โปร่งใสและ ตรวจสอบได้ และเห็นชอบให้ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วมใน PDZ เพื่อความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ร่วมและอำนวยความสะดวก ให้กับกระบวนการปรับกำลังทหาร (Redeployment)

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการปรับกำลัง ทหารบางส่วนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามคำาสั่งฯ ของศาลฯ อย่างเท่าเทียม และด้วยความสมัครใจ ตามนโยบายของรัฐบาลของทั้งสองประเทศ โดยในส่วนของฝ่ายไทย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถนำตำรวจตระเวนชายแดนไปวางกำลังเพื่อเตรียมทดแทนทหาร ซึ่งประจำการ อยู่ใน PDZ ขณะที่ฝ่ายกัมพูชามี พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เป็นประธานในพิธีปรับกำลัง ทหารกัมพูชาออกจาก PDZ และให้เจ้าหน้าที่ตำารวจตระเวนชายแดนและ ตำารวจท่องเที่ยว เข้าปฏิบัติหน้าที่แทน

๔. กระบวนการพิจารณาคดีตีความของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

นับจากที่กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาท พระวิหารปี ๒๕๐๕ ไทยและกัมพูชาได้ยื่นเอกสารชี้แจงต่อศาลฯ ไปแล้ว ฝ่ายละ ๒ รอบ และในขั้นตอนต่อไป ศาลฯ ได้กำหนดให้มีการอธิบาย ทางวาจาเพิ่มเติม (Further Oral Explanations) ณ กรุงเฮก ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ หลังจากนั้น คาดว่าศาลฯ จะใช้เวลาอีกประมาณ ๖ เดือน ในการจัดทำคำพิพากษา ก่อนที่จะมีการตัดสินคดีฯ ประมาณปลายปี ๒๕๕๖

๕. ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของไทย

ไทยคัดค้านว่าศาลฯ ไม่มีอำานาจพิจารณาและกัมพชาไม่มีอำานาจฟ้อง เนื่องจากประเด็นที่กัมพูชาขอให้ศาลฯ ตัดสินว่า บริเวณใกล้เคียงปราสาท (Vicinity of the Temple) เป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ที่กัมพูชา เรียกว่า "แผนที่ภาคผนวก ๑" (แผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ ระวาง ดงรัก) ไม่ใช่การตีความ แต่เป็นการฟ้องคดีใหม่ในเรื่องเขตแดน ซึ่งอยู่ นอกขอบเขตของคดีเดิม และเป็นเรื่องที่ไทยกับกัมพูชาจะต้องเจรจากัน ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission - JBC) ไทย - กัมพูชา

ไทยและกัมพูชาไม่มีข้อพิพาทในเรื่องการตีความคำพิพากษาเดิม คำฟ้องของกัมพูชาเป็นการเปลี่ยนท่าทีและเป็นการรื้อฟื้นเรื่องที่จบไปแล้ว เพราะกัมพูชาได้ยอมรับอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ ว่า ไทยได้ปฏิบัติ ตามคำพิพากษาในคดีเดิมอย่างครบถ้วนแล้ว โดยได้ถอนกำลังทหาร และตำารวจออกจากปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้เคียงปราสาท ตามขอบเขตที่กำหนดโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตของพื้นที่พิพาทในคดีเดิมตามความเข้าใจ ของคู่ความและศาลฯ

นอกจากนี้ คำฟ้องของกัมพูชาเป็นเสมือนการอุทธรณ์ที่ซ่อนมา ในรูปคำขอตีความ ซึ่งขัดธรรมนญศาลฯ และแนวคำพิพากษาของศาลฯ เพราะกัมพูชาขอตีความคำพิพากษาส่วนที่เป็นเหตุผล ไม่ใช่ส่วนที่เป็น คำตัดสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขอให้ศาลฯ ตัดสินสิ่งที่ศาลฯ ได้เคย ปฏิเสธมาแล้วอย่างชัดแจ้งเมื่อปี ๒๕๐๕ กล่าวคือ (๑) เส้นเขตแดน อยู่ที่ไหน และ (๒) แผนที่ที่กัมพูชาเรียกว่า "แผนที่ภาคผนวก ๑" มีสถานะ ทางกฎหมายอย่างไร

๖. การดำเนินการของรัฐบาลไทย

รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการต่อสู้คดีฯ และประเด็นที่ เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเป็นอย่างยิ่ง และสนับสนุนการดำเนินงาน ของคณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของประเทศไทยในการต่อสู้คดีฯ ซึ่งคณะดำเนินคดีดังกล่าวเป็นชุดซึ่งได้รับการแต่งตั้งในสมัยรัฐบาล ชุดที่ผ่านมา ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ

๗. บทสรุป

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและคณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหาร ของประเทศไทยได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในการเตรียม ท่าทีฝ่ายไทยเพื่อโต้แย้งข้อต่อสู้ของกัมพูชาในคดี นอกจากนั้น ตั้งแต่ศาลฯ มีคำสั่งมาตรการชั่วคราว สถานการณ์ตามแนวชายแดนระหว่างไทยและ กัมพูชามีความสงบ และความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ก็พัฒนาไปในทิศทาง ที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจจริงของประเทศไทยที่จะยึดแนวทางสันติวิธี และหลักนิติธรรมเป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับประเทศ เพื่อนบ้าน

ทั้งนี้สิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ไม่ว่าผลการตัดสิน ของศาลฯ จะออกมาอย่างไร ก็มิใช่ชัยชนะของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็น "ชัยชนะแห่งสันติภาพ" ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระหว่างไทย กับกัมพูชา และนำมาซึ่งสันติสุขที่ยั่งยืนระหว่างประชาชนของทั้งสอง ประเทศ และการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘
ภาพที่ 2
"ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร
และการเจรจาเขตแดนไทย – กัมพูชา" ซึ่งจัดทำโดย กระทรวงต่างประเทศ












สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่



http://www.mfa.go.th/main/th/media-center/1925
แผ่นพับ "สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี ๒๕๐๕"
แผ่นพับ "สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี ๒๕๐๕"


แผ่นพับ สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ปี ๒๕๐๕" from Suthep Wannaprasart


leaflet new16.indd 2 10/16/12 2:55 PM
แผ่นพับ 1-1


leaflet new16.indd 1 10/16/12 2:55 PM
แผ่นพับ 1-2

ภาพที่ 3

ภาพที่ 4

ภาพที่ 5

ภาพที่ 6

อัลบั้ม Yingluck LAOS-ASIA-EU-SUMMIT

wannaprasart blog
07 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น